• โรคงูสวัดเกิดจากเชื้อไวรัสวาริเซลลาซอสเตอร์ (varicella-zoster virus)
• เป็นเชื้อไวรัสชนิดเดียวกับโรคอีสุกอีใส
• ที่ซ่อนอยู่ปมประสาทรับความรู้สึกในร่างกาย ได้แสดงอาการและก่อให้เกิดโรคงูสวัด
• ทำให้มีผื่นที่ผิวหนังและกลายเป็นตุ่มน้ำใส ร่วมกับอาการปวดแสบร้อน คันแสบ และตุ่มน้ำนั้นจะแตกออกมา
ช่วงของอาการปวดนำ:
• โดยทั่วไปอาการปวดจะเกิดขึ้น 4 – 6 วันก่อนที่ผื่นจะปรากฏ
• จะเป็นอาการปวดแสบร้อน ชาหรือ รู้สึกปวดเสียวคล้ายหนามแทง และไวต่อสิ่งกระตุ้น
• ผู้ป่วยอาจมีไข้ รู้สึกไม่สบาย อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
อาการปวดเฉียบพลัน:
• ตุ่มน้ำใสจะเรียงตัวตามแนวประสาท (dermatomes)
• ปกติตุ่มน้ำใสจะไม่เกิดรอบตัว
• อาการปวดนั้นจะเป็นการปวดที่ต่อเนื่อง ปวดแสบร้อน ปวดตุ๊บๆ ปวดแปล๊บ หรือคันร่วมด้วย
• ระยะที่เกิดตุ่มใส ประมาณ 7 – 10 วัน และจะค่อยๆดีขึ้นภายใน 2 – 4 อาทิตย์
• ตุ่มน้ำจะค่อยๆตกสะเก็ดในที่สุด
• และมันอาจทำให้เกิดแผลเป็น หรือทำให้สีผิวเปลี่ยนสี
• เป็นอาการปวดต่อเนื่องจากระยะปวดเฉียบพลัน ซึ่งอาจเป็นระยะเวลามากกว่า 3 เดือนหลังจากที่ตุ่มใสเริ่มเกิดขึ้น อาการปวดต่อเนื่องเรียกว่า อาการปวดประสาทหลังเป็นโรคงูสวัด (postherpetic neuralgia, PHN).
• อาการปวดประสาทหลังเป็นงูสวัด (post herpetic neuralgia) คืออาการปวดที่เกิดต่อเนื่องโดยประมาณมากกว่า 90 วัน หลังจากที่มีตุ่มน้ำใสขึ้น
• โดยเฉลี่ยพบได้ประมาณร้อยละ 10 – 27 ของผู้ป่วยโรคงูสวัด
• ในกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นโรคงูสวัด ความเสี่ยงที่จะเกิดอาการปวดปลายประสาทเพิ่มขึ้นตามอายุที่เพิ่มขึ้น
• อาการปวดโดยประมาณมากกว่า 30 วัน เกิดขึ้นร้อยละ 30 ในผู้กลุ่มป่วยโรคงูสวัดอายุน้อยกว่า 40 ปี และ เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 74 ในกลุ่มผู้ป่วยโรคงูสวัดที่อายุมากกว่าหรือเท่ากับ 60 ปี
• อาการปวดโดยประมาณมากกว่า 90 วัน เกิดขึ้นร้อยละ 6 ในกลุ่มผู้ป่วยโรคงูสวัดอายุน้อยกว่า 40 ปี และ ประมาณร้อยละ 12 ในกลุ่มผู้ป่วยโรคงูสวัดที่อายุมากกว่าหรือเท่ากับ 60 ปี
• โรคงูสวัดอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงที่ตา และภาวะแทรกซื้ออื่นๆที่พบได้น้อยมาก ได้แก่ โรคปอดปวม มีปัญหาทางการฟัง ตาบอด สมองอักเสบ และตาย
• โรคนี้มีโอกาสเกิดสูงและรุนแรงขึ้นตามอายุของผู้ป่วยที่มาขึ้น
• มากว่าครึ่งหนึ่งของผู้สูงอายุมากว่า 60 ปีจะเป็นโรคงูสวัด และโรคแทรกซ้อนอาจเกิดได้เกือบร้อยละ 50ของผู้ป่วยโรคงูสวัด
• และปัจจัยเสี่ยงอื่นๆได้แก่ โรครูมาตอยด์ โรคเอสเอลอี โรคลำใส้อักเสบเรื้อรัง โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหอบหืด โรคไตเรื้อรัง ภาวะซึมเศร้า โรคเบาหวาน และ ในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ
• ข้อมูลจากประเทศอเมริกา พบว่าโดยประมาณ 1 ล้านคนเป็นโรคงูสวัดในแต่ละปี อัตราการเกิดโรคเพิ่มขึ้นตามกลุ่มอายุที่เพิ่มขึ้น และจากที่พบประมาณ 5 คนที่เป็นโรคงูสวัดต่อประชากร 1000 คนในกลุ่มประชากรช่วงอายุ 50 – 59 ปี ถึงประมาณ 11 คนที่เป็นโรคงูสวัดต่อประชากร 1000 คน ในกลุ่มประชากรช่วงอายุมากว่า 80 ปีขึ้นไป
ไวรัสที่ทำให้เกิดโรคงูสวัดสามารถแพร่กระจายได้การสัมผัสของเหลวที่ตุ่มใส แต่เมื่อตุ่มตกสะเกิดแล้ว ผู้ป่วยนั้นจะไม่ทำให้เกิดการแพร่เชื้อแก่ผู้อื่น
ถ้าคุณเป็นงูสวัด คุณควร
• หาผ้าสะอาดมาปิดตรงตุ่มน้ำใส
• ไม่ควรจับหรือเกาที่ตุ่มน้ำใส
• ล้างมือให้สะอาดบ่อยๆ เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อของเชื้อ
• หลีกเลี่ยงการติดต่อกับคนกลุ่มดังกล่าว จนกว่าตุ่มน้ำใสจะตกสะเกิด
• ผู้หญิงตั้งครรภ์ ที่ไม่เคยเป็นโรคอีสุกอีใส หรือที่ไม่เคยได้รับวัคซีนอีสุกอีใสมาก่อน
• เด็กพี่เพิ่งคลอดใหม่
• กลุ่มคนที่มีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ อย่างเช่น คนที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน หรือ อยู่ระหว่างการรักษาด้วยเคโม ผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ ผู้ป่วยที่ติดเชื้อ HIV
การรักษาโรคงูสวัด โดยการให้ยาฆ่าเชื้อไวรัส ยาแก้ปวด และรักษาตามอาการ โดยปรึกษาแพทย์