Hero Image

ผู้ป่วยและข้อมูลการรักษา

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรักษา

เราช่วยดูแลสุขภาพของคุณ

อ่านเคล็ดลับและข้อมูลด้านล่างเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ ข้อมูลนี้ถูกจัดทำขึ้นเพื่อไว้สำหรับเป็นคำแนะนำ และไม่ได้มีไว้เพื่อใช้แทนการสนทนาใดๆ กับแพทย์ของคุณ

ขั้นตอนการใช้ยาที่ถูกต้อง

การใช้ยาอย่างถูกต้อง

ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่คลินิค โรงพยาบาล ร้านขายยา หรือที่บ้าน คุณสามารถใช้ยาอย่างถูกต้องได้

Illustration of a patient talking to doctor in office

ให้ข้อมูลเกี่ยวกับอาการของตนเองและสอบถามวิธีการใช้ยาที่ถูกต้องเมื่อไปพบแพทย์

การไปพบแพทย์ของคุณจะเป็นโอกาสให้คุณได้สอบถามข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับยาที่คุณใช้

1. คุณสามารถนำขวดยาหรือจดรายชื่อยาที่คุณใช้ (ไม่ว่าจะเป็นยาที่สั่งโดยแพทย์ ยาที่จำหน่ายทั่วไป รวมถึงวิตามิน ยาสมุนไพร และอาหารเสริม) และแจ้งแพทย์เกี่ยวกับอาการแพ้ยาของคุณ

2. แจ้งแพทย์และพยาบาลหากคุณกำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เพื่อให้แพทย์และพยาบาลจัดยาได้ถูกต้องและให้คุณใช้ยาได้อย่างปลอดภัย

3. เตรียมคำถามเกี่ยวกับยาของคุณ โดยเฉพาะยาใหม่ๆ ที่ได้รับ ตัวอย่างคำถาม อาทิ

  • ยานี้ชื่ออะไร?
  • ยานี้ทานเพื่อช่วยในเรื่องใด?
  • ควรทานยานี้ตอนไหนและควรทานขนาดเท่าไรต่อครั้ง? สามารถทานยานี้พร้อมกับยาตัวอื่นได้หรือไม่?
  • ควรทานยานี้พร้อมอาหารหรือไม่? มีอาหารประเภทใดบ้างที่ไม่ควรทานในระหว่างที่ทานยานี้?
  • ต้องทานยานี้นานแค่ไหน?
  • มีผลข้างเคียงใดที่ควรระวังหรือไม่? และควรทำอย่างไรหากมีผลข้างเคียง?

สอบถามคำแนะนำในการรับประทานยาเมื่อซื้อยาจากร้านขายยา

เภสัชกรเป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านยาและเป็นบุคคลสำคัญในการให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับยาของคุณดังนั้น การทำความเข้าใจเกี่ยวกับยาที่ได้รับและข้อมูลอื่นๆ อาทิ ข้อแนะนำในการรับประทานยาและการเก็บรักษายา ฯลฯ จึงเป็นเรื่องที่สำคัญ

1. เมื่อได้รับการจ่ายยาจากเภสัชกร สิ่งแรกที่ควรต้องทำ คือการอ่านฉลากยา:

  • ตรวจสอบชื่อยาเพื่อให้แน่ใจว่าตรงกับใบสั่งยา
  • หากไม่เข้าใจเกี่ยวกับวิธีการรับประทานยา (อาทิ ปริมาณ ช่วงเวลาของวัน ทานก่อนอาหารหรือหลังอาหาร ฯลฯ) กรุณาแจ้งเภสัชกรเพื่อให้เภสัชกรอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับยา

2. อย่ากลัวที่จะถามคำถาม อาทิ

  • ควรเก็บยานี้อย่างไร? ต้องเก็บไว้ในตู้เย็นหรือไม่?
  • ขอฉลากยานี้เป็นภาษาไทยได้ไหม?

รับประทานยาของคุณให้เป็นกิจวัตรประจำวันเมื่อคุณอยู่บ้านและเมื่อเดินทาง

รับประทานยาของคุณตามที่บุคลากรการแพทย์สั่ง โดยอ่านเคล็ดลับการรับประทานยาดังนี้

1. เก็บยาทั้งหมดไว้ในที่เดียวกันเพื่อให้ง่ายต่อการหา

2. อย่าลืมยาไว้ในรถเพราะอุณหภูมิของการเก็บรักษาอาจแตกต่างกัน

3. ใช้ปฏิทินต่างๆ อาทิ ปฏิทินกระดาษ หรือบนโทรศัพท์มือถือ และอุปกรณ์ดิจิทัลอื่นๆ เพื่อกําหนดเวลาแจ้งเตือนสําหรับการรับประทานยาให้ตรงเวลา

4. วางแผนล่วงหน้าหากจะต้องเดินทาง:

  • ตรวจสอบให้แน่ใจว่ามียาเพียงพอตลอดการเดินทาง (ควรนำยาไปไว้สำรองหากมีกรณีที่ต้องอยู่นานขึ้น)
  • หากคุณต้องขึ้นเครื่องบิน กรุณาเก็บยาของคุณไว้ในกระเป๋าถือขึ้นเครื่อง เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในการผ่านจุดตรวจความปลอดภัย

5. ขอความช่วยเหลือจากเพื่อนหรือคนในครอบครัวเกี่ยวกับยา หากคุณต้องการความช่วยเหลือ อาทิ ขอให้ช่วยตั้งการแจ้งเตือนบนโทรศัพท์มือถือเมื่อถึงเวลาที่ต้องรับประทานยา

การดูแลตัวเองให้เหมือนเป็นผู้ดูแล

คุณอาจจะไม่ได้คิดว่าคุณคือผู้ดูแล แต่เมื่อคุณสละเวลาของคุณเพื่อให้ความสำคัญต่อใครคนใดคนหนึ่ง นั่นก็ถือเป็นบทบาทหนึ่งของผู้ดูแล

Illustration of man covering a woman with his umbrella during the rain

ข้อแนะนำสำหรับผู้ดูแล

ความเครียดที่เพิ่มมากขึ้น, ความวิตกกังวล, ภาวะซึมเศร้า และผลกระทบต่อสุขภาพจิตอื่นๆ เป็นเรื่องธรรมดาที่ผู้ดูแลผู้ป่วยอาจต้องเผชิญ มารู้จักเคล็ดลับในการดูแลสุขภาพของตัวเอง เพื่อให้คุณแข็งแรงพอที่จะดูแลคนที่คุณรักได้ อาทิ

1. ตอบรับความช่วยเหลือต่างๆ จากผู้อื่น อาทิ ความช่วยเหลือเกี่ยวกับการซื้อของเล็กๆ น้อยๆ หรือธุระอื่นๆ

2. พูดคุยกับแพทย์ของผู้ป่วยและสอบถามข้อมูลต่างๆ ที่คุณต้องการทราบ

3. เปิดรับเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่อาจช่วยคุณได้ อาทิ แอพพลิเคชั่นสำหรับบริการส่งอาหาร และการฝึกสมาธิ

4. หากอารมณ์ของคุณในฐานะผู้ดูแลมีผลต่อชีวิตของคุณ อย่ารอช้าที่จะพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต

5. การดูแลผู้ป่วยถือเป็นงานที่งานหนัก ดังนั้นคุณควรหาเวลาพักผ่อนเมื่อมีโอกาส

6. เก็บรักษาข้อมูลทางการแพทย์และข้อมูลทางกฎหมายของผู้ป่วยไว้ในที่เดียวกันเพื่อให้ง่ายต่อการค้นหา และปรับข้อมูลให้เป็นปัจจุบันอยู่ตลอดเวลา

เหนือสิ่งอื่นใด อย่าลืมให้กำลังใจตัวเอง การดูแลเป็นหนึ่งในงานที่ยากที่สุด แต่ให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่า

แหล่งข้อมูลของผู้ดูแล

คุณสามารถอ่านข้อมูลเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยผ่านช่องทางออนไลน์ต่างๆ ดังนี้

การเตรียมความพร้อมเพื่อไปพบแพทย์

ก่อนที่คุณจะไปพบแพทย์ในครั้งต่อไป คุณสามารถทำตามขั้นตอนต่อไปนี้เพื่อให้แน่ใจว่าคุณใช้เวลาให้เกิดประโยชน์ที่สุด 

 ควรเตรียมข้อมูลดังต่อไปนี้เพื่อเตรียมความพร้อมในการพบแพทย์ครั้งถัดไป

ก่อนไปพบแพทย์

1. ควรเขียนคำถามที่ต้องการทราบ อาทิ

  • เหตุผลของการนัดหมายในครั้งนี้?
  • คุณรู้สึกและมีอาการอย่างไร?
  • คุณควรดูแลตัวเองอย่างไร?
  • คุณต้องได้รับการตรวจอะไรบ้าง?
  • ตัวเลือกการรักษาของคุณมีอะไรบ้าง? และจะช่วยในเรื่องใด?

2. เมื่อคุณนัดพบแพทย์ กรุณาแจ้งในสิ่งที่คุณต้องการให้แพทย์ช่วยเหลือ

  • สอบถามแพทย์ว่ามีการตรวจสุขภาพผ่านระบบออนไลน์หรือไม่ ในปัจจุบัน หลายๆ โรงพยาบาลหรือคลินิกสามารถนัดพบแพทย์ผ่านรูปแบบออนไลน์ได้มากขึ้น (โดยใช้คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ หรือแท็บเล็ต) เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลสุขภาพโดยไม่ต้องออกจากบ้าน

3. ไปพบแพทย์กับผู้ติดตามของคุณ

  • สอบถามคนในครอบครัวหรือเพื่อนให้ไปพบแพทย์กับคุณ เพื่อช่วยจดบันทึกหรือช่วยจำในสิ่งที่แพทย์แจ้ง

4. ควรเตรียมตัวล่วงหน้า หากคุณไปพบแพทย์คนใหม่เป็นครั้งแรก

  • ระบุอาการหรือปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวกับร่างกายของคุณ รวมทั้งชื่อ ปริมาณและระยะเวลาของยาที่รับประทานในปัจจุบัน
  • นำสำเนาข้อมูลดังกล่าวไปให้แพทย์คนใหม่ และให้เจ้าหน้าที่ช่วยเพิ่มข้อมูลนี้ลงในเวชระเบียนของคุณ

5. กล้าที่จะสอบถามหรือพูดคุยเกี่ยวกับอาการและโรคของคุณ

  • หากต้องพูดคุยเรื่องส่วนตัวกับแพทย์ ให้คุณเตรียมในสิ่งที่คุณจะพูดไว้ล่วงหน้า เพราะอาจเป็นวิธีที่จะช่วยให้คุณพูดได้อย่างสบายใจมากขึ้น

ควรไปพบแพทย์กับผู้ดูแลของคุณ

การพูดคุยกับแพทย์อาจเป็นเรื่องยากหรือถูกจำกัดเวลา แต่การไปพบแพทย์เป็นสิ่งที่คุณไม่ควรทำให้เวลานั้นสูญเปล่า ให้คิดเสมอว่าแพทย์จะเป็นผู้ที่อยู่เคียงข้างเพื่อให้คำปรึกษาและช่วยให้เรามีสุขภาพที่ดีขึ้น

1. อธิบายให้แพทย์ทราบถึงอาการ หรือแม้แต้รายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ

  • มีเพียงตัวคุณเองเท่านั้นที่รู้ว่าจริงๆ แล้วคุณรู้สึกอย่างไร และข้อมูลเหล่านั้นเป็นสิ่งสำคัญที่แพทย์ควรต้องทราบ การพูดคุยกับแพทย์อย่างเปิดเผยและตรงไปตรงมาเกี่ยวกับความรู้สึกและอาการที่คุณอาจมี จะช่วยให้แพทย์เข้าใจความต้องการด้านการดูแลสุขภาพของคุณได้ดีที่สุด

2. ถามคำถามกับแพทย์ของคุณ

  • แพทย์ของคุณอาจมีข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับทางเลือกในการรักษาอื่นๆ พยายามเปิดใจให้กับบทสนทนากับแพทย์ของคุณ และถามคำถามเพื่อให้เข้าใจทุกอย่างที่แพทย์แจ้ง

3. การจดบันทึก

  • ทุกครั้งที่ไปพบแพทย์ คุณหรือผู้ดูแลที่ไปพบแพทย์กับคุณ ควรจดบันทึกในสิ่งที่แพทย์แจ้ง เพื่อช่วยให้คุณจดจำในสิ่งที่แพทย์กล่าว และเพื่อให้คุณสามารถแบ่งปันข้อมูลนี้กับผู้ดูแลหรือคนในครอบครัวของคุณได้

หากคุณมีคำถามหรือต้องการรายงานผลข้างเคียง