สถานเสาวภา สภากาชาดไทย รับมอบวัคซีนเอชพีวี ชนิด 4 สายพันธุ์ จาก บริษัท เอ็มเอสดี (ประเทศไทย) จำกัด มุ่งฉีดกลุ่มเป้าหมายให้ห่างไกลมะเร็งจากเชื้อเอชพีวี

กรุงเทพฯ 12 มิถุนายน 2566 – บริษัท เอ็มเอสดี (ประเทศไทย) จำกัด(บริษัทในเครือของ บริษัท เมอร์ค แอนด์ คัมปานี อินคอร์ปอเรท ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เมืองราย์เวย์ มลรัฐนิวเจอร์ซี ประเทศสหรัฐอเมริกา)ได้บริจาควัคซีนเอชพีวี ชนิด 4 สายพันธุ์  จำนวน 800,000 โดส ให้กับสภากาชาดไทย โดยมี ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.กาญจน์พิมล ฤทธิเดช รองผู้อำนวยการสถานเสาวภา ฝ่ายบริหารและเทคนิค และ เภสัชกรหญิงดวงพร พรมุทธกุล ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถานเสาวภา ฝ่ายเทคนิค ให้เกียรติเป็นผู้แทนในการเข้าตรวจรับวัคซีน และเยี่ยมชมคลังสินค้าที่จัดเก็บวัคซีนดังกล่าว ณ คลังสินค้า บริษัท ซิลลิค ฟาร์มา จำกัด จังหวัดสมุทรปราการ

ศ.ภญ.ดร.กาญจน์พิมล ฤทธิเดช รองผู้อำนวยการสถานเสาวภา ฝ่ายบริหารและเทคนิค (ที่สี่จากซ้าย) และ
ภญ.ดวงพร พรมุทธกุล ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถานเสาวภา ฝ่ายเทคนิค (ที่สองจากซ้าย) เข้าตรวจรับวัคซีนเอสพีวี ชนิด 4 สายพันธุ์ จำนวน 800,000 โดส จากบริษัท เอ็มเอสดี (ประเทศไทย) จำกัด โดยมี นางอนุตรา สินชัยพานิช (ที่สามจากขวา) และ นายภาณุ วิบุญวิริยะวงศ์ (ที่สองจากขวา) ทีมบริหารของบริษัทฯ เป็นผู้ส่งมอบวัคซีนฯ พร้อมด้วยทีมบริหารของบริษัท ซิลลิค ฟาร์มา จำกัด นำโดย นางสาวพักตร์นลิน บูลกุล ประธานกรรมการบริหาร (ที่สามจากซ้าย) และ นายลักษมัณ ชูศิริ รองประธานบริษัท แผนกบริหารการบริการบริษัทคู่ค้าและแผนกการบริหารลูกค้า (ขวาสุด)

ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.กาญจน์พิมล ฤทธิเดช รองผู้อำนวยการสถานเสาวภา กล่าวว่า “ในนามสภากาชาดไทย และภาคีเครือข่าย ดิฉันมีความยินดีอย่างยิ่งที่ได้ร่วมมือกับ บริษัท เอ็มเอสดี (ประเทศไทย) จำกัด ในการนำวัคซีนเอชพีวี ชนิด 4 สายพันธุ์ จำนวน 800,000 โดส ไปดำเนินการฉีดให้กับเด็กหญิงไทย 400,000 คนในกลุ่มเป้าหมายที่ไม่เคยได้รับวัคซีนฯ มาก่อนและเด็กหญิงในกลุ่มเปราะบาง เพื่อป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก และมะเร็งอื่น ๆ ที่เกิดจากเชื้อเอชพีวี ซึ่งเป็นโรคที่คร่าชีวิตของผู้หญิงไทยเฉลี่ยวันละ 24 คน หากแต่โรคมะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งเพียงไม่กี่ชนิดที่สามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีนเอชพีวี และการตรวจคัดกรองอย่างสม่ำเสมอ จึงเป็นแนวทางที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการป้องกันการเกิดมะเร็งปากมดลูก ดังนั้นการบริจาควัคซีนฯ และความร่วมมือในครั้งนี้สอดคล้องกับพันธกิจของสภากาชาดไทย ที่มุ่งส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่ประชาชนและบุคคลกลุ่มเปราะบางในประเทศไทย  เราจึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่าความร่วมมือในครั้งนี้จะนำไปสู่การลดอุบัติการณ์ของมะเร็งปากมดลูก และเป็นเส้นทางนำไปสู่การกำจัดโรคดังกล่าว ให้หมดไปจากประเทศไทย และสอดคล้องกับแนวทางขององค์การอนามัยโลก ในการกำจัดโรคมะเร็งปากมดลูกภายในปี 2030”

ดร. แมรี่ เสรฐภักดี กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็มเอสดี (ประเทศไทย) กล่าวว่า “การส่งมอบวัคซีนเอชพีวี 4 สายพันธุ์ในครั้งนี้ นับเป็นก้าวที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับเอ็มเอสดี ที่มุ่งมั่นพัฒนาเพื่อสุขภาพและชีวิตที่ของคนในประเทศไทยและประชากรทั่วโลก ผ่านการคิดค้นพัฒนายาใหม่และวัคซีนที่เป็นนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง เรารู้สึกเป็นเกียรติที่ได้ร่วมเป็นหนึ่งในพันธมิตรกับสภากาชาดไทย สถานเสาวภา และภาคีเครือข่ายของสภากาชาดไทย ในการสนับสนุนให้เกิดการเข้าถึงวัคซีนเอชพีวี 4 สายพันธุ์ ให้กับเยาวชนและประชากรกลุ่มเป้าหมาย อายุ 12-15 ปี รวมถึงบุคคลกลุ่มเปราะบางในประเทศไทย”

ดร. แมรี่ เสรฐภักดี กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็มเอสดี (ประเทศไทย)

สภากาชาดไทย และบริษัท เอ็มเอสดี (ประเทศไทย) จำกัด ได้มอบหมายให้ บริษัท ซิลลิค ฟาร์มา จำกัด ดำเนินการจัดส่งวัคซีนไปยังหน่วยให้บริการและหน่วยงานเครือข่ายของสภากาชาด ได้แก่ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร กองการต่างประเทศ กระทรวงมหาดไทย รวมถึงหน่วยงานในสังกัดสภากาชาดไทย ได้แก่ สถานเสาวภา สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สำนักงานบริหารกิจการเหล่ากาชาด โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา ในการนำวัคซีนไปฉีดให้แก่ประชากรกลุ่มเป้าหมายต่อไป

###

สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่:

ฝ่ายสื่อสารองค์กรและประชาสัมพันธ์ บริษัท เอ็มเอสดี (ประเทศไทย) จำกัด

อีเมล: thcommunication@merck.com

หรือ ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.msd-thailand.com หรือ www.facebook.com/MSDinTH

คลินิก “Jab & Go By Vibhavadi Hospital” เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ ณ บีทีเอสพญาไท (ทางออก 3) ตอบรับไลฟ์สไตล์คนเมืองรักสุขภาพ

วันที่ 3 พฤษภาคม 2566 – นายพิจิตต์ วิริยะเมตตากุล กรรมการผู้จัดการ โรงพยาบาลวิภาวดี นายแพทย์ชัยสิทธิ์ คุปต์วิวัฒน์ ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลวิภาวดี นางญาดา พัฑฒฆายน กรรมการบริหาร โรงพยาบาลวิภาวดี นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และดร.แมรี่ เสรฐภักดี กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็มเอสดี (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมเป็นประธานในพิธีเปิด “แจ็บแอนด์โก บาย โรงพยาบาลวิภาวดี คลินิกเวชกรรม” (Jab & Go By Vibhavadi Hospital) ณ สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสพญาไท (ทางออกที่ 3) อย่างเป็นทางการ

ดร.แมรี่ เสรฐภักดี กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็มเอสดี (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “เรารู้สึกภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในพิธีเปิดคลินิก Jab & Go By Vibhavadi Hospital ซึ่งเป็นการบริการด้านสุขภาพรูปแบบใหม่ที่มอบความสะดวกและง่ายต่อการเดินทางให้กับคนที่อาศัยในกรุงเทพฯ หรือสัญจรผ่านบีทีเอสพญาไท ให้สามารถมาเข้ารับบริการและฉีดวัคซีนเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันโรคต่าง ๆ  เอ็มเอสดี ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านการค้นคว้าวิจัย และพัฒนายาและวัคซีน ได้มุ่งมั่นพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากร รวมถึงลดอุบัติการณ์และป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก และมะเร็งที่เกิดจากเชื้อเอชพีวีมาอย่างต่อเนื่อง ผ่านการทำงานร่วมกับภาครัฐและองค์กรพันธมิตรต่าง ๆ เพื่อเพิ่มอัตราการฉีดวัคซีนในประเทศไทยให้มากขึ้น”

แพทย์แผนก สูติ-นรีเวช สาขาทางมะเร็งวิทยานรีเวช โรงพยาบาลวิภาวดี นางสาวนริศรา ศรีสันต์ ที่ปรึกษากลยุทธ์สื่อสารองค์กร บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และแขกรับเชิญพิเศษ นางสาวแจ็คกี้ ชาเคอลีน มิ้นซ์ เข้าร่วมการเสวนา

สำหรับการจัดทำคลินิกฯ แห่งนี้ มีจุดเริ่มต้นมาจาก ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด –19 ประชาชนทุกช่วงวัยได้เล็งเห็นถึงประโยชน์ และยอมรับการฉีดวัคซีนกันมากขึ้น ทางโรงพยาบาลวิภาวดีจึงได้จัดกิจกรรมให้ความรู้กับประชาชนเกี่ยวกับวัคซีนที่จำเป็นในวัยรุ่นและวัยทำงาน ภายใต้ Concept “ป้องกันดีกว่ารักษา” และพบว่าข้อจำกัดของคนกรุงเทพฯ คือเรื่องของความสะดวกในการเข้ารับบริการ และวัคซีนบางตัวมีราคาสูง จึงได้จัดตั้งคลินิกฯ ในพื้นที่สถานีรถไฟฟ้าพญาไท เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของคนเมืองที่ใช้ชีวิตแบบเร่งรีบ และลดข้อจำกัดต่าง ๆ เพื่อให้ได้รับการบริการที่มีความสะดวกมากที่สุด ทั้งในเรื่องของพื้นที่เข้าถึงง่าย และความสะดวกในการเดินทาง

สำหรับคลินิก Jab & Go By Vibhavadi Hospital แห่งนี้จะเปิดให้บริการกับผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 9 ปีขึ้นไป (เด็กแรกเกิด-อายุ 9 ปี มีโปรแกรมที่เป็น Gold Standard อยู่แล้ว) และทุกขั้นตอนอยู่ภายใต้การดูแลของทีมแพทย์ และพยาบาลของโรงพยาบาลวิภาวดี ซึ่งจะเปิดให้บริการทุกวันในเวลา 10.00 –20.00 น. ในราคาพิเศษ และสามารถผ่อนชำระกับธนาคารที่โรงพยาบาลได้ทำสัญญาไว้ได้ โดยนอกเหนือจากการให้บริการวัคซีนแล้ว ในคลินิกฯ ยังสามารถให้บริการทางการแพทย์อื่น ๆ เช่น ใบรับรองแพทย์ 5 โรค, 6 โรค, ผลิตภัณฑ์เวชสำอาง ของโรงพยาบาลวิภาวดี รวมถึงสามารถให้คำปรึกษาทางการแพทย์ และทางการพยาบาลได้ตลอดเวลาที่ให้บริการ พร้อมประวัติในการรับวัคซีน หรือรักษาพยาบาล ซึ่งเป็นระบบเดียวกันกับที่มารับบริการภายในโรงพยาบาลวิภาวดี

พิธีลงนามข้อตกลงความร่วมมือ สภากาชาดไทยรับบริจาควัคซีนเอชพีวี ชนิด 4 สายพันธุ์

ข่าวประชาสัมพันธ์ พิธีลงนามข้อตกลงความร่วมมือ สภากาชาดไทยรับบริจาควัคซีนเอชพีวี ชนิด 4 สายพันธุ์ จำนวน 800,000 โดส จากบริษัท เอ็มเอสดี (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อนำไปบริการแก่ประชากรกลุ่มเป้าหมาย

วันที่ 20 มีนาคม 2566 – นายเตช บุนนาค เลขาธิการสภากาชาดไทย และ ดร.แมรี่ เสรฐภักดี กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็มเอสดี (ประเทศไทย) จำกัด ลงนามในข้อตกลงความร่วมมือสภากาชาดไทยรับบริจาควัคซีนเอชพีวี ชนิด 4 สายพันธุ์ จำนวน 800,000 โดส จากบริษัท เอ็มเอสดี (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อนำไปจัดสรรให้แก่ประชากรกลุ่มเป้าหมาย โดยมี คุณหญิงชฎา วัฒนศิริธรรม เหรัญญิกสภากาชาดไทย พร้อมด้วย นางอนุตรา สินชัยพานิช ผู้อำนวยการฝ่ายองค์กรสัมพันธ์ บริษัท เอ็มเอสดี (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมลงนามเป็นสักขีพยาน ณ ห้องประชุม ชั้น 5  ตึกสภานายิกา สถานเสาวภา สภากาชาดไทย ถนนพระราม 4 กรุงเทพฯ

          ความร่วมมือในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการดำเนินการของสภากาชาดไทยตามวิสัยทัศน์สภากาชาดไทย “สภากาชาดไทยเป็นองค์กรสาธารณกุศลของประเทศที่ดำเนินการเพื่อมนุษยธรรมตามหลักการกาชาดสากลมุ่งเน้นการส่งเสริมและช่วยเหลือประชาชน และผู้ด้อยโอกาสด้วยจิตสาธารณะให้มีสุขภาวะที่ดี พร้อมสำหรับวิถีชีวิตในศตวรรษที่ 21” โดยบริษัท เอ็มเอสดี (ประเทศไทย) จำกัด ที่มีความมุ่งมั่นในการค้นคว้าวิจัย และพัฒนายาและวัคซีน ซึ่งรวมถึงวัคซีนเอชพีวี อันนำไปสู่การกำจัดโรคมะเร็งปากมดลูกในประเทศไทยซึ่งสอดคล้องกับพันธกิจของสภากาชาดไทย ได้สนับสนุนวัคซีนเอชพีวี ชนิด 4 สายพันธุ์ จำนวน 800,000 โด๊ส รวมถึงค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าวัคซีน, การตรวจวิเคราะห์, การจัดเก็บและกระจายวัคซีน ประกอบด้วย ค่าใช้จ่ายในการขนส่งทางเรือและประกันภัยในการขนส่งวัคซีน ค่าใช้จ่ายในการปรับเปลี่ยน บรรจุภัณฑ์ของวัคซีนให้เป็นไปตามที่ได้ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ค่าใช้จ่ายในการตรวจวิเคราะห์รุ่นการผลิต (Lot release) กับกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ค่าใช้จ่ายในการขนส่งหลังจากผ่านขั้นตอนการปฏิบัติพิธีการศุลกากร จากท่าเรือกรุงเทพเพื่อจัดส่งเข้าที่คลังสินค้าของสภากาชาดไทย และที่คลังสินค้าของ บริษัท ซิลลิคฟาร์มา จำกัด ตามมาตรฐานการจัดเก็บ และกระจายวัคซีน อีกทั้งสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการ ขนส่งวัคซีนไปยังหน่วยบริการวัคซีนของสภากาชาดไทย กระทรวงสาธารณสุข หรือ หน่วยฉีดวัคซีนอื่น ๆ เป็นระยะเวลา 12 เดือน นับจากวันส่งมอบวัคซีนที่บริจาค

               โดยสภากาชาดไทย ได้ดำเนินการประสานงานกับหน่วยงานเครือข่าย ได้แก่ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร และมอบหมายให้หน่วยงานในสังกัดสภากาชาดไทย ได้แก่ สถานเสาวภา สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สำนักงานบริหารกิจการเหล่ากาชาด โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา ในการดำเนินการนำวัคซีนเอชพีวี ชนิด 4 สายพันธุ์ บริการแก่ประชากรกลุ่มเป้าหมายอันจะนำไปสู่การลดอุบัติการณ์การติดเชื้อเอชพีวี ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการป่วยเป็นมะเร็งปากมดลูกและเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันมะเร็งปากมดลูก และโรคอื่นๆ ที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชพีวี เช่น หูดบริเวณอวัยวะเพศ ให้แก่ประชากรกลุ่มเป้าหมาย

               “มะเร็งปากมดลูก” เป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 2 ของมะเร็งในสตรีไทย และคร่าชีวิต ของผู้หญิงไทยโดยเฉลี่ยวันละ 23 คน สาเหตุหลักเกิดจากการติดเชื้อไวรัสฮิวแมนแพปพิลโลมา (Human papillomavirus) หรือที่เรียกว่า ไวรัสเอชพีวี (HPV) โดยติดเชื้อส่วนใหญ่เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ การติดเชื้อส่วนใหญ่มักไม่แสดงอาการ แต่อาจนำไปสู่การติดเชื้อเอชพีวีเรื้อรัง เช่น การติดเชื้อเอชพีวีสายพันธุ์ 16 และ 18 สามารถนำไปสู่การเกิดมะเร็งของปากมดลูก ช่องคลอด อวัยวะเพศ ทวารหนัก และลำคอ ส่วนการติดเชื้อเอชพีวี สายพันธุ์ 6 และ 11 นำไปสู่การเกิดโรคหูดบริเวณอวัยวะเพศ ดังนั้น การป้องกันด้วยการฉีดวัคซีนเอชพีวีจึงเป็นแนวทางที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการป้องกันการเกิดมะเร็งปากมดลูก โดยเฉพาะร่วมกับการเข้ารับตรวจภายในของสตรีอย่างสม่ำเสมอตามเวลาที่แพทย์กำหนด ในส่วนของวัคซีนเอชพีวี ชนิด 4 สายพันธุ์ ประกอบด้วย สายพันธุ์ 6, 11, 16 และ 18 เพื่อป้องกันทั้งมะเร็ง และหูดบริเวณอวัยวะเพศ สำหรับประเทศไทยตามแผนสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในปัจจุบันแนะนำให้ฉีดวัคซีนเอชพีวีในสตรีไทยอายุ 9-26 ปี โดยวัคซีนจะได้ประโยชน์สูงสุดในผู้ที่ยังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ ดังนั้น กลุ่มเป้าหมายสำคัญคือสตรีไทย อายุ 9-14 ปี โดยหากฉีดเข็มแรกก่อนอายุ 15 ปี สามารถฉีดวัคซีนเพียง 2 ครั้ง ห่างกัน 6-12 เดือน ในกรณีฉีดวัคซีนแก่หญิงไทยอายุ 15-26 ปี จะฉีดทั้งหมด 3 เข็ม ที่ระยะเวลา 0, 1-2 เดือน และ 6 เดือนตามดุลพินิจแพทย์

ข่าวประชาสัมพันธ์

บริษัท เอ็มเอสดี (ประเทศไทย) จำกัด ประกาศ
ร่วมลงนามกับกระทรวงสาธารณสุขในข้อตกลงการจัดซื้อจัดหา
“ยาโมลนูพิราเวียร์” ยาต้านไวรัสชนิดรับประทาน เมื่อได้รับอนุมัติ

 “ยาโมลนูพิราเวียร์” ปัจจุบัน อยู่ในระหว่างการประเมิน
สำหรับรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ที่เข้ารับการรักษาตัวในรูปแบบผู้ป่วยนอก ที่มีระดับความรุนแรงของโรคน้อยถึงปานกลาง และมีปัจจัยเสี่ยงอย่างน้อย 1 ปัจจัย
อันส่งผลให้การดำเนินโรครุนแรงขึ้น

กรุงเทพฯ 25 พฤศจิกายน 2564 – บริษัท เอ็มเอสดี ประเทศไทย (บริษัทในเครือของ บริษัท เมอร์ค แอนด์ คัมปานี อินคอร์ปอเรท เมืองเคนิลเวิร์ธ มลรัฐนิวเจอร์ซี ประเทศสหรัฐอเมริกา) ประกาศร่วมลงนามกับกระทรวงสาธารณสุข ในข้อตกลงการจัดซื้อจัดหา“ยาโมลนูพิราเวียร์” ยาต้านไวรัสชนิดรับประทานที่กำลังอยู่ในระหว่างการศึกษาสำหรับรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ที่เป็นผู้ใหญ่ที่มีระดับความรุนแรงของโรคน้อยถึงปานกลาง ที่เข้ารับการรักษาตัวในรูปแบบผู้ป่วยนอก

ดร. แมรี เสรฐภักดี กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เอ็มเอสดี (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “บริษัท เอ็มเอสดี ได้ทำวิจัยด้านโรคติดเชื้อมาอย่างยาวนาน และตั้งแต่เกิดการระบาดของโรคโควิด-19 บริษัทฯ มุ่งมั่นในการค้นคว้าวิจัยและพัฒนายานวัตกรรม เพื่อต่อสู้กับวิกฤตโรคระบาดที่ทั่วโลกยังคง
เผชิญอยู่ในขณะนี้  พวกเราพยายามที่จะทำงานแข่งกับเวลาเพื่อให้ยาของเราสามารถไปถึงผู้ป่วยโรค
โควิด-19 ที่เป็นผู้ใหญ่ที่มีอาการของโรคในระดับน้อยหรือปานกลาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงอย่างน้อย 1 ปัจจัยอันส่งผลให้การดำเนินโรครุนแรงขึ้น เราทุกคนใน เอ็มเอสดี รู้สึกภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่ได้ทำงานร่วมกับกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในประเทศ ในการต่อสู้กับวิกฤตโรคระบาด การลงนามในสัญญาข้อตกลงนี้ เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของการทำงานร่วมกันของภาครัฐและบริษัทผู้ค้นคว้าวิจัยและผลิตยานวัตกรรม ในการร่วมกันจัดการกับวิกฤตโรคระบาดในประเทศไทย บริษัท เอ็มเอสดี จะยังมุ่งมั่นที่จะลงทุนในการศึกษาวิจัยและพัฒนายาและวัคซีนที่เป็นนวัตกรรมเพื่อต่อสู้กับโรคต่างๆ รวมถึงโรคอุบัติใหม่ในอนาคต”

ดร. แมรี กล่าวเสริม “ยิ่งไปกว่านั้น ด้วยการทำงานร่วมกันกับกรมการแพทย์ และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ทำให้ประเทศไทยได้เข้าร่วมในโครงการวิจัยทางคลินิก “MOVe-AHEAD Study” ซึ่งอยู่ระหว่างการทำการศึกษาในระยะที่ 3  ร่วมกับอีกหลายประเทศทั่วโลก โดยมี 5 สถาบัน ในประเทศไทย เข้าร่วมการศึกษาดังกล่าว ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิภาพและความปลอดภัยของยาโมลนูพิราเวียร์ในการป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ในกลุ่มเสี่ยงที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยโควิด-19”

เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2564 สำนักงานกำกับดูแลยาและผลิตภัณฑ์สาธารณสุข (MHRA) ของ
สหราชอาณาจักรอนุมัติให้ยาโมลนูพิราเวียร์เป็นยาต้านไวรัสชนิดรับประทานตัวแรก ในสหราชอาณาจักร สำหรับรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ที่เป็นผู้ใหญ่ที่มีระดับความรุนแรงของโรคน้อยถึงปานกลาง และมีปัจจัยเสี่ยงอย่างน้อย 1 ปัจจัยอันส่งผลให้การดำเนินโรครุนแรงขึ้น โดยบริษัท เอ็มเอสดี ได้วิจัยและพัฒนายาโมลนูพิราเวียร์ ร่วมกับบริษัท ริดช์แบค ไบโอเทราปูติคส์

###


เกี่ยวกับโครงการศึกษาวิจัยทางคลินิกของยาโมลนูพิราเวียร์

การศึกษาวิจัยทางคลินิกยาโมลนูพิราเวียร์ MOVe-OUT (MK-4482-002) (NCT04575597) เป็นการศึกษาในระยะที่ 3 ในรูปแบบ multicenter, randomized, double-blind, placebo-controlled study โดยทำการวิจัยในกลุ่มผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่เป็นผู้ใหญ่ที่มีอาการของโรคในระดับน้อยหรือปานกลางและมีปัจจัยเสี่ยงอย่างน้อย 1 ปัจจัยอันส่งผลให้การดำเนินโรครุนแรงขึ้น (อาทิ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคอ้วนหรือโรคเบาหวาน) โดยทำการรักษาในรูปแบบผู้ป่วยนอก ทั้งนี้ ผู้ป่วยมีอาการน้อยกว่า 5 วันก่อนได้รับยา โดยมีวัตถุประสงค์หลักของศึกษาเพื่อประเมินประสิทธิภาพของยาโมลนูพิราเวียร์เมื่อเทียบกับยาหลอก โดยประเมินจากเปอร์เซ็นต์ของอาสาสมัครที่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และ/หรือ เสียชีวิต โดยทำการประเมินผลการรักษาภายใน 29 วัน หลังจากให้ยา

การศึกษาวิจัยทางคลินิกยาโมลนูพิราเวียร์ MOVe-AHEAD (MK-4482-013) (NCT04939428) เป็นการศึกษาในระยะที่ 3 ในรูปแบบ multicenter, randomized, double-blind, placebo-controlled study เพื่อประเมินประสิทธิภาพและความปลอดภัยของยาโมลนูพิราเวียร์การป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ในครัวเรือนในกลุ่มเสี่ยงที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยโควิด-19 การศึกษาดังกล่าวมีอาสาสมัครเข้าร่วมโครงการศึกษาราว 1,332 คน โดยได้รับการสุ่มเพื่อรับยาโมลนูพิราเวียร์ (ขนาด 800 มก.) หรือยาหลอกทุก 12 ชั่วโมง เป็นระยะเวลา 5 วัน โดยอาสาสมัครเข้าร่วมโครงการต้องมีอายุ 18 ปีขึ้นไป อาศัยอยู่ในครัวเรือนเดียวกันกับผู้ที่

ติดเชื้อโควิด-19 และมีอาการอย่างน้อยหนึ่งอาการ ในช่วงระยะเวลาไม่เกิน 5 วัน ทั้งนี้ อาสาสมัครที่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 เข็มแรกมามากกว่า 7 วัน ก่อนการลงทะเบียนเข้าร่วมการวิจัย หรือ เคยติดโรคโควิด-19 มาก่อน หรือแสดงอาการใดๆ ของโรคโควิด-19 จะไม่มีสิทธิ์เข้าร่วมโครงการวิจัยดังกล่าว

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการศึกษาวิจัยทางคลินิกของยาโมลนูพิราเวียร์ ซึ่งรวมถึงการศึกษาใน MOVe-OUT และ MOVe-AHEAD อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://msdcovidresearch.com/


เกี่ยวกับยาโมลนูพิราเวียร์

ยาโมลนูพิราเวียร์ (Molnupiravir — MK-4482 / EIDD-2801) เป็นยาต้านไวรัสชนิดรับประทานในรูปแบบpotent ribonucleoside analog ที่กำลังอยู่ในระหว่างการศึกษาวิจัยทางคลินิก โมลนูพิราเวียร์มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการจําลองแบบของไวรัส SARS-CoV-2 ซึ่งเป็นอาร์เอ็นเอไวรัส ที่ก่อให้เกิดโรคโควิด-19 โดยเมื่อไวรัสเข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ ไวรัสจะจำลองแบบพันธุกรรมเพื่อเพิ่มจำนวนให้กระจายไปสู่เซลล์ทั่วร่างกาย โมลนูพิราเวียร์ออกฤทธิ์กับโครงสร้างของไวรัส ทำให้โครงสร้างผิดไปจากเดิม ไวรัสจึงไม่สามารถจำลองแบบพันธุกรรมและเพิ่มจำนวนได้ หากยาโมลนูพิราเวียร์ได้รับอนุมัติให้ใช้ในการรักษาโรคโควิด-19 ขนาดยาที่แนะนำ คือ 800 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 5 วัน ต่อหนึ่งคอร์สการรักษา

ยาโมลนูพิราเวียร์ ถูกคิดค้นขึ้นโดยบริษัท Drug Innovation Ventures at Emory; DRIVE ซึ่งเป็นบริษัทเทคโนโลยีชีวภาพที่ไม่แสวงหาผลกำไรในเครือของมหาวิทยาลัยเอโมรี (Emory University) โดยบริษัทได้รับทุนในการทำวิจัยจากกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯและสถาบันสุขภาพแห่งชาติสหรัฐฯ ต่อมายาโมลนูพิราเวียร์จึงได้รับการพัฒนาต่อภายใต้ความร่วมมือของ บริษัท เมอร์ค แอนด์ คัมปานี, อินคอร์ปอเรท (Merck & Co., Inc.) หรือเป็นที่รู้จักในนามของบริษัท เอ็มเอสดี ในประเทศอื่นๆนอกเหนือจากสหรัฐฯและแคนาดา และ บริษัท ริดช์แบ็ค ไบโอเทราปูติค (Ridgeback Biotherapeutics) บริษัท ริดช์แบ็คได้รับการค่าตอบแทนล่วงหน้าจากบริษัท เอ็มเอสดี และ มีสิทธิ์ที่จะได้รับเงินค่าตอบแทนเพิ่มเติมในกรณีที่ยาดังกล่าวบรรลุผลสำเร็จผ่านการวิจัยพัฒนา จนกระทั่งได้รับอนุมัติจากหน่วยงานกำกับดูแล ผลกำไรจากการร่วมมือนี้ จะถูกแบ่งระหว่างพันธมิตรในสัดส่วนที่เท่าเทียมกัน โดยนับตั้งแต่บริษัท เอ็มเอสดี ได้รับสิทธิ์การดำเนินการจากบริษัท ริดช์แบ็ค เงินทุนทั้งหมดที่ใช้สำหรับการวิจัยและพัฒนาได้รับการสนับสนุนจากทั้งบริษัท เอ็มเอสดีและมูลนิธิ Wayne and Wendy Holman ของบริษัท ริดช์แบ็ค

เกี่ยวกับความมุ่งมั่นของบริษัท เอ็มเอสดี ในการเร่งเตรียมความพร้อมในการเข้าถึงยาโมลนูพิราเวียร์ทั่วโลกเมื่อได้รับการอนุมัติ

บริษัท เอ็มเอสดี มุ่งมั่นที่จะให้ทุกประเทศสามารถเข้าถึงยาโมลนูพิราเวียร์ได้อย่างทันท่วงที ผ่านแนวทางการจัดหาและการเข้าถึงที่ครอบคลุม ซึ่งประกอบไปด้วยการลงทุนบนความเสี่ยงในการผลิตยารักษานี้ในจำนวนหลายล้านคอร์ส การกำหนดราคายาโดยตระหนักถึงความสามารถของรัฐบาลแต่ละประเทศในการให้ความช่วยเหลือด้านการดูแลสุขภาพ การทำข้อตกลงการจัดซื้อจัดหากับภาครัฐ และการอนุญาตให้ใช้สิทธิ์โดยสมัครใจแก่ผู้ผลิตยาสามัญและองค์กรจัดการสิทธิบัตรยาร่วม (MPP) เพื่อผลิตยาสามัญของยาโมลนูพิราเวียร์ สำหรับประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลางตามการอนุมัติด้านกฎระเบียบในท้องถิ่น

เกี่ยวกับการความสามารถในการผลิต: ปัจจุบัน บริษัท เอ็มเอสดี กำลังผลิตยาโมลนูพิราเวียร์บนความเสี่ยง โดยบริษัทฯ คาดว่าจะสามารถผลิตยาโมลนูพิราเวียร์ได้ในจำนวน 10 ล้าน คอร์สการรักษา ภายในปีพ.ศ. 2564 และคาดว่าจะผลิตได้อย่างน้อย 20 ล้าน คอร์สการรักษา ในปี พ.ศ. 2565

เกี่ยวกับข้อตกลงในการจัดซื้อจัดหา: เมื่อต้นปีที่ผ่านมา บริษัท เอ็มเอสดี ได้ลงนามในข้อตกลงการจัดซื้อจัดจ้างกับรัฐบาลสหรัฐฯ ในการจัดหายาโมลนูพิราเวียร์จำนวน 3.1 ล้านคอร์สการรักษาให้กับรัฐบาลสหรัฐฯ เมื่อได้รับการอนุมัติการใช้ในกรณีฉุกเฉินจากสำนักงานองค์การอาหารและยาของสหรัฐฯ (US FDA) นอกจากนั้น บริษัท เอ็มเอสดี ยังได้ลงนามในข้อตกลงการจัดซื้อจัดหายาโมลนูพิราเวียร์ล่วงหน้ากับรัฐบาลทั่วโลกและยังอยู่ระหว่างการหารือกับรัฐบาลประเทศอื่นๆ เพิ่มเติม ในส่วนของการกำหนดราคา บริษัทฯ วางแผนที่จะนำหลักการการกำหนดราคายาโดยอ้างอิงตามการจัดลำดับรายได้ของธนาคารโลก ที่ตระหนักถึงความสามารถของแต่ละประเทศในการจัดหาเงินทุนเพื่อตอบสนองต่อวิกฤติโรคระบาด

เกี่ยวกับการอนุญาตให้ใช้สิทธิ์โดยสมัครใจ (Voluntary Licenses): ด้วยความมุ่งมั่นในการช่วยเหลือให้ยาโมลนูพิราเวียร์สามารถเข้าถึงได้ทั่วโลก บริษัท เอ็มเอสดี ได้ทำข้อตกลงในการออกใบอนุญาต ร่วมกับองค์กรจัดการสิทธิบัตรยาร่วม (Medicines Patent Pool – MPP) เพื่อให้การช่วยเหลือต่อการเข้าถึงยา สำหรับประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลาง (LMICs)  ยิ่งไปกว่านั้น บริษัท เอ็มเอสดี ได้ทำข้อตกลงก่อนหน้านี้ในการอนุญาตให้ใช้สิทธิ์โดยสมัครใจ (Voluntary Licensing หรือ VL) กับบริษัทผู้ผลิตยาสามัญรายใหญ่ในประเทศอินเดีย เพื่อเร่งเตรียมความพร้อมในการผลิตยาโมลนูพิราเวียร์ สำหรับประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลางอื่นๆ (LMICs) จำนวนมากกว่า 100 ประเทศ เมื่อได้รับการอนุมัติสำหรับการใช้ยาในกรณีฉุกเฉินจากหน่วยงานท้องถิ่น

บริษัท เอ็มเอสดี ยังคงมองหาความร่วมมือต่อไป เพื่อช่วยให้ยาโมลนูพิราเวียร์สามารถเข้าถึงได้ทั่วโลก


เกี่ยวกับบริษัท เอ็มเอสดี

บริษัท เอ็มเอสดี (MSD) เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการค้นคว้าวิจัยและพัฒนายาและวัคซีนที่เป็นนวัตกรรม โดยมุ่งมั่นทำงานเพื่อช่วยมนุษยชาติทั่วโลกต่อสู้กับความท้าทายด้านสุขภาพจากโรคร้ายต่างๆ   เอ็มเอสดี ดำเนินธุรกิจในหลายประเทศทั่วโลก ก่อตั้งมาเป็นเวลากว่า 130 ปี โดยมีบริษัทแม่ซึ่งเป็นที่รู้จักเป็นการทั่วไปในชื่อ เมอร์ค แอนด์ คัมปานี อินคอร์ปอเรท (Merck & Co., Inc.)  หรือ เมอร์ค (Merck) มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เมืองเคนิลเวิร์ธ มลรัฐนิวเจอร์ซี ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยใช้ชื่อบริษัทว่า เมอร์ค เฉพาะในประเทศสหรัฐอเมริกาและแคนนาดาเท่านั้น ประเทศอื่นๆ จะรู้จักในชื่อบริษัท เอ็มเอสดี (MSD) รวมถึงในประเทศไทย ที่ เอ็มเอสดี (MSD) ทุกประเทศ เราให้ความสำคัญกับการค้นคว้าวิจัยในการยกระดับสุขภาพ ทำให้เราให้ความสำคัญกับผู้ป่วยและสุขภาพของประชากรทั่วโลก เราพยายามทำงานเพื่อเพิ่มการเข้าถึงระบบสาธารณสุขและบริการสุขภาพ ผ่านนโยบายสาธารณสุข ผ่านโครงการและความร่วมมือต่าง ๆ กับทุกภาคส่วนอย่างกว้างขวาง  ปัจจุบัน เอ็มเอสดี (MSD) ยังคงเป็นแนวหน้าในการค้นคว้าวิจัย เพื่อหาทางป้องกันโรคและรักษาโรคร้ายที่เป็นภัยต่อมนุษยชาติและสัตว์เลี้ยงรวมถึงปศุสัตว์ ทั้งโรคมะเร็ง โรคติดเชื้อ อาทิ HIV, Ebola และ COVID-19 รวมถึงโรคอุบัติใหม่ที่เกิดขึ้นทั้งในคนและสัตว์  เรามุ่งหวังที่จะเป็นบริษัทเวชภัณฑ์ระดับโลกที่ให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการวิจัยและพัฒนา ท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม หรือติดตามข่าวได้ที่ เว็บไซต์ของบริษัทฯ ที่ www.msd.com หรือ Twitter, LinkedIn และ YouTube.

เกี่ยวกับบริษัท เอ็มเอสดี ในประเทศไทย

ในประเทศไทย ยาของ เอ็มเอสดี ได้อยู่เคียงข้างและดูแลรักษาผู้ป่วยคนไทยมาเป็นเวลากว่า 72 ปี และจัดจำหน่ายครั้งแรกผ่านความร่วมมือกับพันธมิตรในประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2492

ต่อมาในปี พ.ศ. 2547 ได้จัดตั้งบริษัทในประเทศไทย ในชื่อ บริษัท เอ็มเอสดี (ประเทศไทย) จำกัด โดยมีการจัดการและมีโครงสร้างการดำเนินธุรกิจใหม่ ทำให้บริษัทฯ สามารถนำผลิตภัณฑ์ของ เอ็มเอสดี มาสู่ประเทศไทยเพื่อให้แพทย์วินิจฉัยโรคด้วยยาที่เป็นนวัตกรรมทางการแพทย์ในการรักษาโรคให้ผู้ป่วยและช่วยให้ประชาชนมีโอกาสเข้าถึงการรักษาด้วยยาที่มีประสิทธิภาพและมีคุณภาพ รวมถึงทางเลือกในการเข้าถึงวัคซีนต่างๆ เพื่อป้องกันโรค โดยสาขาที่เรามีความเชี่ยวชาญ ได้แก่ การรักษาโรคมะเร็ง การป้องกันโรคต่างๆ รวมถึงป้องกันโรคมะเร็งด้วยวัคซีน โรคเบาหวาน และโรคติดเชื้อในผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูแลรักษาในโรงพยาบาล บริษัท เอ็มเอสดี มุ่งมั่นที่จะช่วยพัฒนาสุขภาพที่ดีเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของคนไทยทุกคน

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม สามารถดูได้ที่ www.msd-thailand.com หรือ www.facebook.com/MSDinTH

###

ข่าวประชาสัมพันธ์

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข รับมอบยาต้านไวรัสชนิดรับประทาน
จากบริษัท เอ็มเอสดี (ประเทศไทย) จำกัด
จำนวน สองล้านเม็ด เพื่อรักษาผู้ป่วยโควิด – 19

กรุงเทพฯ 18 มีนาคม 2565 – บริษัท เอ็มเอสดี ประเทศไทย (บริษัทในเครือของ บริษัท เมอร์ค แอนด์ คัมปานี อินคอร์ปอเรท เมืองเคนิลเวิร์ธ มลรัฐนิวเจอร์ซี ประเทศสหรัฐอเมริกา) ส่งมอบยาต้านไวรัสชนิดรับประทาน จำนวน 2 ล้านแคปซูล หรือ 50,000 คอร์สการรักษา ให้กับ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข โดยมี นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีรับมอบ  โดยในเบื้องต้นจะใช้รักษาผู้ป่วยโควิด-19 ที่เป็นผู้ใหญ่ที่มีอาการของโรคในระดับน้อยหรือปานกลาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงอย่างน้อย 1 ปัจจัยอันจะส่งผลให้การดำเนินโรครุนแรงขึ้น เช่น ผู้สูงอายุและผู้ป่วยในกลุ่มโรคเรื้อรัง

นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า “นับเป็นเรื่องน่ายินดีที่วันนี้ประเทศไทยได้รับการส่งมอบยาโมลนูพิราเวียร์  จำนวน 2 ล้านเม็ด หรือ 50,000 คอร์สการรักษา จากบริษัท เอ็มเอสดี อย่างเป็นทางการ ซึ่งเป็นผลมาจากการเจรจาข้อตกลงเมื่อกลางปีที่ผ่านมา และได้ทำการลงนามในข้อตกลงการจัดซื้อจัดหายาต้านไวรัสชนิดรับประทาน ระหว่างบริษัท เอ็มเอสดี และกรมการแพทย์ เมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่ผ่านมาหลังจากได้หารือเรื่องความคืบหน้าทางการวิจัยทางคลินิกมาก่อนหน้านั้น  ในเบื้องต้น จะมีการพิจารณาใช้ยาตัวนี้กับผู้ป่วยกลุ่ม 607 คือ กลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป และกลุ่มผู้ป่วยที่มีโรครื้อรัง 7 โรคประจำตัว อย่างไรก็ตาม อาจมีการพิจารณาใช้ยาตัวนี้กับผู้ป่วยกลุ่มอายุ 18 ปีขึ้นไปเพิ่มเติมเข้ามาในอนาคต หากมีจำนวนยาที่มากขึ้น ซึ่งจะมีการกำหนดแนวทางการกระจายยาและแนวทางการใช้ยาอย่างละเอียดอีกครั้ง ก่อนเตรียมกระจายยาถึงโรงพยาบาลต่างๆ ในสัปดาห์หน้า”

ดร. แมรี เสรฐภักดี กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็มเอสดี (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “เอ็มเอสดี มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ดำเนินการนำยาต้านไวรัสชนิดรับประทานสำหรับรักษาโควิด-19 ซึ่งเป็นยานวัตกรรมที่ผ่านการวิจัยทางคลินิก และวันนี้ได้ส่งมอบแก่กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้อย่างสำเร็จลุล่วง  ตลอดเวลาที่ผ่านมาเราได้ทำงานอย่างหนักและแข่งกับเวลา เพื่อทำการวิจัยและพัฒนายานวัตกรรมเพื่อต่อสู้กับโรคระบาด   เราขอขอบคุณกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางในหลายสาขา ที่ได้ร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ทางการแพทย์ การรักษาผู้ติดเชื้อ และข้อมูลทางคลินิกเกี่ยวกับยารักษาโควิด-19 ชนิดรับประทาน โดยมีเป้าหมายเดียวกันนั่นคือ เพื่อประโยชน์สูงสุดต่อการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ในประเทศไทย  เราภูมิใจที่จะได้เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยให้คนไทยต่อสู้กับโควิด-19 และมีส่วนร่วมในการสนับสนุนการเตรียมความพร้อม เพื่อช่วยให้ประเทศไทยสามารถเปลี่ยนสถานการณ์จากการระบาดใหญ่ไปสู่โรคประจำถิ่นตามนโยบายของภาครัฐ ทำให้ประเทศไทยและประชาชนในประเทศสามารถกลับมาดำเนินชีวิต ไปทำงาน และมีกิจกรรมทางสังคม เพื่อฟื้นคืนเศรษฐกิจ ได้อีกครั้ง อย่างค่อยเป็นค่อยไปและปลอดภัย”

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้มอบหมายให้ บริษัท ซิลลิค ฟาร์มา จำกัด ดำเนินการบริหารจัดการและกระจายยาต้านไวรัสชนิดรับประทาน จำนวน 2 ล้านเม็ดนี้ ตามนโยบายและแผนงานของกระทรวงฯ เพื่อให้ยาต้านไวรัสชนิดรับประทานนี้ สามารถให้แพทย์ใช้เป็นทางเลือกในการรักษาผู้ป่วยโควิด-19   ตามแนวทางการรักษา (Clinical Practice Guideline) โดยผู้ป่วยจะต้องได้รับยาโมลนูพิราเวียร์ วันละ 2 ครั้ง ครั้งละ 4 เม็ด ติดต่อกันเป็นเวลา 5 วันจนครบ (40 เม็ด) ยาโมลนูพิราเวียร์จะช่วยลดโอกาสในการเสียชีวิตหรือเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลได้ในผู้ป่วยที่เสี่ยงจะมีอาการรุนแรง หากได้รับยาภายใน 5 วันนับจากวันที่เริ่มมีอาการ  

#####

เกี่ยวกับบริษัท เอ็มเอสดี

บริษัท เอ็มเอสดี (MSD) เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการค้นคว้าวิจัยและพัฒนายาและวัคซีนที่เป็นนวัตกรรม โดยมุ่งมั่นทำงานเพื่อช่วยมนุษยชาติทั่วโลกต่อสู้กับความท้าทายด้านสุขภาพจากโรคร้ายต่างๆ   เอ็มเอสดี ดำเนินธุรกิจในหลายประเทศทั่วโลก ก่อตั้งมาเป็นเวลากว่า 130 ปี โดยมีบริษัทแม่ซึ่งเป็นที่รู้จักเป็นการทั่วไปในชื่อ เมอร์ค แอนด์ คัมปานี อินคอร์ปอเรท (Merck & Co., Inc.)  หรือ
เมอร์ค (Merck) มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เมืองเคนิลเวิร์ธ มลรัฐนิวเจอร์ซี ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยใช้ชื่อบริษัทว่า เมอร์ค เฉพาะในประเทศสหรัฐอเมริกาและแคนาดาเท่านั้น ประเทศอื่นๆ จะรู้จักในชื่อบริษัท เอ็มเอสดี (MSD)

รวมถึงในประเทศไทย ที่เอ็มเอสดี (MSD) ทุกประเทศ เราให้ความสำคัญกับการค้นคว้าวิจัยในการยกระดับสุขภาพ ทำให้เราให้ความสำคัญกับผู้ป่วยและสุขภาพของประชากรทั่วโลก เราพยายามทำงานเพื่อเพิ่มการเข้าถึงระบบสาธารณสุขและบริการสุขภาพ
ผ่านนโยบายสาธารณสุข ผ่านโครงการและความร่วมมือต่างๆ กับทุกภาคส่วนอย่างกว้างขวาง ปัจจุบัน เอ็มเอสดี (MSD) ยังคงเป็นแนวหน้าในการค้นคว้าวิจัย เพื่อหาทางป้องกันโรคและรักษาโรคร้ายที่เป็นภัยต่อมนุษยชาติและสัตว์เลี้ยงรวมถึงปศุสัตว์ ทั้งโรคมะเร็ง โรคติดเชื้อ อาทิ HIV, Ebola และ COVID-19 รวมถึงโรคอุบัติใหม่ที่เกิดขึ้นทั้งในคนและสัตว์ เรามุ่งหวังที่จะเป็นบริษัทเวชภัณฑ์ระดับโลกที่ให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการวิจัยและพัฒนา ท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม หรือติดตามข่าวได้ที่ เว็บไซต์ของบริษัทฯ ที่ www.msd.com หรือ Twitter, LinkedIn และ YouTube.

เกี่ยวกับบริษัท เอ็มเอสดี ในประเทศไทย

ในประเทศไทย ยาของ เอ็มเอสดี ได้อยู่เคียงข้างและดูแลรักษาผู้ป่วยคนไทยมาเป็นเวลากว่า 72 ปี และจัดจำหน่ายครั้งแรกผ่านความร่วมมือกับพันธมิตรในประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2492

ต่อมาในปี พ.ศ. 2547 ได้จัดตั้งบริษัทในประเทศไทย ในชื่อ บริษัท เอ็มเอสดี (ประเทศไทย) จำกัด โดยมีการจัดการและมีโครงสร้างการดำเนินธุรกิจใหม่ ทำให้บริษัทฯ สามารถนำผลิตภัณฑ์ของ เอ็มเอสดี มาสู่ประเทศไทยเพื่อให้แพทย์วินิจฉัยโรคด้วยยาที่เป็นนวัตกรรมทางการแพทย์ในการรักษาโรคให้ผู้ป่วยและช่วยให้ประชาชนมีโอกาสเข้าถึงการรักษาด้วยยาที่มีประสิทธิภาพและมีคุณภาพ รวมถึงทางเลือกในการเข้าถึงวัคซีนต่างๆ เพื่อป้องกันโรค โดยสาขาที่เรามีความเชี่ยวชาญ ได้แก่ การรักษาโรคมะเร็ง การป้องกันโรคต่างๆ รวมถึงป้องกันโรคมะเร็งด้วยวัคซีน โรคเบาหวาน และโรคติดเชื้อในผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูแลรักษาในโรงพยาบาล
บริษัท เอ็มเอสดี มุ่งมั่นที่จะช่วยพัฒนาสุขภาพที่ดีเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของคนไทยทุกคน

ข้อมูลเพิ่มเติม สามารถดูได้ที่ www.msd-thailand.com หรือ www.facebook.com/MSDinTH

###

Health awareness

เอ็มเอสดี ร่วมกับ ซิกน่าประกันภัย จับมือเป็นพันธมิตร ภายใต้แคมเปญ “Together4More Possibility”

เรามุ่งหวังที่จะเป็นผู้นำในการให้ข้อมูลความรู้ล่าสุดเรื่องโรคมะเร็งและการรักษาโรคมะเร็งด้วยนวัตกรรมล่าสุดแบบภูมิคุ้มกันบำบัด

19 สิงหาคม 2564

แชร์บทความนี้

.st0{fill:#00857C;}

ข่าวประชาสัมพันธ์

บริษัท เอ็มเอสดี (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมกับ ซิกน่า ประกันภัย จำกัด (มหาชน) จับมือเป็นพันธมิตร ภายใต้แคมเปญ “Together4More Possibility – ร่วมก่อ ต่อโอกาสให้ชีวิต” เพื่อนำเสนอข้อมูลความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งและนวัตกรรมด้านการรักษา ซึ่งรวมถึงการรักษาโรคมะเร็งด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด ที่ช่วยรักษาชีวิตและช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยในระหว่างการรักษาให้ดียิ่งขึ้น การร่วมเป็นพันธมิตรในครั้งนี้ มุ่งหวังให้คนไทยมีโอกาสในการเข้าถึงการรักษาโรคมะเร็งที่ให้ผลลัพธ์ที่ดียิ่งกว่า เพื่อร่วมกันสรรสร้างความหวังที่มากกว่าวันพรุ่งนี้

ดร. แมรี เสรฐภักดี กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เอ็มเอสดี (ประเทศไทย) จำกัด

ดร. แมรี เสรฐภักดี กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เอ็มเอสดี (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “เรามีความยินดีที่ได้ร่วมมือและเข้ามาเป็นเป็นพันธมิตรกับ ซิกน่า ประกันภัย ในครั้งนี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เราได้นำความรู้ทางวิทยาศาสตร์และทางการแพทย์ล่าสุด ที่เรามีความเชี่ยวชาญ มาเผยแพร่และให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชนที่สนใจ ร่วมกับซิกน่า โดยเฉพาะในครั้งนี้ เราจะเน้นให้ความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็ง ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค แนวทางการรักษา รวมถึงการรักษาโรคมะเร็งด้วยนวัตกรรมล่าสุดแบบภูมิคุ้มกันบำบัด โดยหวังว่าข้อมูลความรู้จะเป็นประโยชน์ต่อคนไทย การมีความรู้เปรียบเสมือนสร้างภูมิเพื่อป้องกันโรคมะเร็ง และหากจำเป็นต้องเผชิญกับโรคร้ายจะได้นำความรู้เหล่านั้นมาช่วยในการตัดสินใจในการวางแผนการรักษา เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและการอยู่รอดของผู้ป่วยมะเร็งในระหว่างการรักษาให้ดีขึ้น เราเชื่อว่าหากเราทำงานร่วมกัน เราจะสามารถช่วยให้คนไทยมีโอกาสได้รับผลลัพธ์ในการรักษาโรคมะเร็งที่ดีขึ้นเพื่อร่วมกันสรรสร้างความหวังที่มากกว่าวันพรุ่งนี้ให้กับคนไทยทุกคนได้” 

นายธีรวุฒิ สุธนะเสรีพร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซิกน่า ประกันภัย จำกัด (มหาชน)

นายธีรวุฒิ สุธนะเสรีพร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซิกน่า ประกันภัย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “การจับมือเป็นพันธมิตรร่วมกับบริษัท เอ็มเอสดี (ประเทศไทย) จำกัด เกิดขึ้นจากการเล็งเห็นถึงความสำคัญในการนำนวัตกรรมการรักษาใหม่ ๆ เข้ามาดูแลคนไทยร่วมกัน เพื่อที่จะหาแนวทางใหม่ๆ ในการตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าที่มีเพิ่มมากขึ้นในด้านการแสวงหาข้อมูลความรู้เกี่ยวกับการรักษาโรค เพื่อเป็นประโยชน์ในการดำรงชีวิตและการตัดสินใจ ตลอดจนเพื่อลดความเสี่ยงทางด้านสุขภาพ โดยการผนึกกำลังร่วมกันในครั้งนี้ ถือเป็นอีกก้าวสำคัญของทั้งซิกน่าและเอ็มเอสดี เพื่อสร้างความหวังของการรักษาโรคร้ายให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด เราสัญญาว่าเราจะเดินหน้าอย่างไม่หยุดยั้งในการสร้างโอกาสและเปิดช่องทางใหม่ ๆ ในการนำเสนอข้อมูลความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็ง และนวัตกรรมการรักษาให้แก่ลูกค้าต่อไป”

ความร่วมมือเป็นพันธมิตรในครั้งนี้ ซิกน่าประกันภัย และ เอ็มเอสดี มีความมุ่งหวังที่จะเป็นผู้นำในการให้ข้อมูลความรู้ล่าสุดที่น่าเชื่อถือ เกี่ยวกับโรคมะเร็งและการรักษาต่างๆ ซึ่งรวมถึงการรักษาโรคมะเร็งด้วยนวัตกรรมล่าสุดแบบภูมิคุ้มกันบำบัด ภายใต้แคมเปญ “Together4More Possibility – ร่วมก่อ ต่อโอกาสให้ชีวิต” มุ่งหวังให้คนไทยมีโอกาสในการเข้าถึงการรักษาโรคมะเร็งที่ให้ผลลัพธ์ที่ดียิ่งกว่า เพื่อร่วมสร้างความหวังที่มากกว่าวันพรุ่งนี้ให้กับคนไทย

#CignaxMSD #Together4MorePossibility #ร่วมก่อต่อโอกาสให้ชีวิต #Immunotherapy
#MoreHopefulTomorrow #InnovativeCancerTreatment #ความหวังที่มากกว่าวันพรุ่งนี้

Health awareness

“Hope Theory” พอดแคสต์ โดย Mission to the Moon

นำ “ความหวังที่มากกว่าวันพรุ่งนี้” มาสู่คนไทย โดยเฉพาะผู้ป่วยมะเร็งและผู้ดูแล

19 สิงหาคม 2564

แชร์บทความนี้

.st0{fill:#00857C;}

บริษัท เอ็มเอสดี (ประเทศไทย) จำกัด พลิกวิกฤตการระบาดของโรค COVID-19 ให้เป็นโอกาสสำหรับการสร้างความตระหนักรู้ในรูปแบบใหม่เกี่ยวกับโรคมะเร็ง ด้วยบทความที่ดึงดูดในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายในวงกว้าง นอกเหนือจากกลุ่มผู้ป่วยโรคมะเร็ง โดยมุ่งเน้นไปที่ความสำคัญของการรักษาโรคมะเร็งด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด

บริษัท เอ็มเอสดี (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมกับ Mission to the Moon สื่อชั้นนำของประเทศไทย บอกเล่าเรื่องราวของ “ความหวังที่มากกว่าวันพรุ่งนี้” ผ่านพอดแคสต์ซีรีส์ใหม่ ที่มีชื่อว่า “HOPE THEORY” โดยพอดแคสต์ซีรีส์นี้ได้บอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับความหวัง สำหรับคนไทยโดยเฉพาะผู้ป่วยโรคมะเร็งและผู้ดูแล

คุณภาณุ วิบุญวิริยะวงศ์ ผู้อำนวยการหน่วยธุรกิจยามะเร็ง กล่าวว่า “ท่ามกลางภาวะโรคระบาดในปัจจุบัน คำว่า “ความหวัง” มีความสําคัญสําหรับใครหลายๆคนมากกว่าที่เคย และเมื่อเรานึกถึงผู้ป่วยโรคมะเร็งและคนรอบข้างของเค้า การรักษามะเร็งที่มีประสิทธิภาพจึงเปรียบเสมือน “ความหวัง” ที่จุดประกายให้ผู้ป่วยมีกำลังใจในการต่อสู้กับโรคร้าย นี่คือเหตุผลที่เราร่วมมือกับ Mission to the Moon เพื่อสร้าง HOPE THEORY Podcast ที่มีจุดมุ่งหมายในการสร้างแรงบันดาลใจและจุดประกายตวามหวังให้กับผู้ชมผ่านเรื่องราวที่น่าประทับใจของผู้ป่วยโรคมะเร็ง ที่สามารถเอาชนะโรคร้ายด้วยกำลังใจที่เข้มแข็งซึ่งถูกหล่อเลี้ยงด้วยความหวังจากนวัตกรรมการรักษาที่มีประสิทธิภาพและแรงบันดาลใจในการมีชีวิตอยู่ต่อไป”

เกี่ยวกับ HOPE THEORY

Mission to the Moon ชวนคุณมาร่วมฟังเรื่องราวที่หลากหลายเกี่ยวกับความสำคัญของความหวังในชีวิต ไม่เพียงแต่ในผู้ป่วยโรคมะเร็งเท่านั้น แต่สำหรับพวกเราทุกคน และทำไมเราจึงไม่ควรหมดหวัง

“HOPE THEORY” มีทั้งหมด 14 ตอน แบ่งเป็น พอดแคสต์ในรูปแบบเสียง 11 ตอน และในรูปแบบวิดีโอ 3 ตอน โดยมีแขกรับเชิญพิเศษ อาทิ คุณเศรษฐา ศิระฉายา นักแสดงชื่อดังชาวไทยและผู้ป่วยโรคมะเร็งปอด (EP.3), ผศ. พญ. เอื้อมแข สุขประเสริฐ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (EP.5) คุณเบลล่า ศิรินทิพย์ อดีตผู้ป่วยโรคมะเร็งและนายกมูลนิธิเครือข่ายมะเร็ง (EP.10) และแพทย์หญิง จอมธนา ศิริไพบูลย์ ผู้อำนวยการศูนย์การแพทย์มะเร็งวิทยา โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ (EP.13)

โดยพอดแคสต์ชุดนี้จะออกอากาศทุกวันพฤหัสบดี ในช่องทางออนไลน์ของ Mission to the moon: เว็บไซต์, Facebook, YouTube, Spotify, Soundcloud, Podbean และ Apple Podcasts เริ่มตั้งแต่วันที่ 19 สิงหาคม ถึง 18 พฤศจิกายน 2564

Website: https://missiontothemoon.co/
Facebook: https://www.facebook.com/missiontothemoonofficial/
YouTube: https://bit.ly/3xTTPRV
Spotify: https://spoti.fi/3sqKArq
Soundcloud: https://bit.ly/3sysAeL
Podbean: https://bit.ly/3yYGp8D
Apple Podcast: https://apple.co/37RKOOT

อัปเดต Hope Theory ผ่าน MSD Thailand Facebook ได้ที่ https://www.facebook.com/MSDinTH

#ภูมิความหวังพลังสู้มะเร็ง #ความหวังที่มากกว่าวันพรุ่งนี้ #MSDinThailand
​​​​​​​#InventingForLife #MSDมุ่งมั่นพัฒนาคุณภาพชีวิต